ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว


      ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า

จากข้อมูลการวิเคราะห์ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า เด็กปฐมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนวัยเรียน (3-5 ปี) เป็นช่วงที่สำคัญอย่างมาก การไม่ได้รับการดูแลในช่วงนี้ ส่งผลต่อแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศ ซึ่งปัจจุบันเด็กนอกระบบการศึกษาในช่วงก่อนวัยเรียนยังมีสัดส่วนสูงราวร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับประชากรวัยเดียวกัน

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงและรับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาคพบว่า ครอบครัวที่มีฐานะยากจนซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง และทำงานอยู่ต่างถิ่น จะนำบุตรหลานเข้าเรียนระดับอนุบาลล่าช้าหรือไม่ได้เข้าเรียน ทำให้เด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการมีพัฒนาการด้านต่างๆที่ล่าช้า ไม่ทันเพื่อนตั้งแต่ชั้น ป.1 ซึ่งช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านพัฒนาการนี้หากไม่ได้รับการค้นพบ และแก้ไขได้ทันเวลา จะมีแนวโน้มแย่ลงในอนาคต จนส่งผลต่อผลการเรียน ทักษะการอ่านออกเขียนได้ และความเสี่ยงต่อการหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานในที่สุด

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

ดร.ไกรยส กล่าวว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว กสศ.และสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงร่วมกันพัฒนาเครื่องมือสํารวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยหรือ School Readiness Survey (SRS) ระดับจังหวัดขึ้น เพื่อเป็นกระจกสะท้อนสถานการณ์ด้านพัฒนาการและความพร้อมของเด็กปฐมวัยก่อนเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ (5-6ปี) ข้อมูลนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ กำหนดแนวทางผลักดันให้เด็กเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย ตลอดจนสะท้อนผลลัพธ์คุณภาพการเรียนรู้ ช่วงปฐมวัยว่าได้เตรียมเด็กให้พร้อมจะก้าวเข้าสู่ประถมศึกษาเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กชายขอบ และกลุ่มเด็กด้อยโอกาสทางสังคม เช่น เด็กที่มาจากครอบครัวยากจน

"หลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำเสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ศาสตราจารย์ James J. Heckman จาก University of Chicago ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมดีที่สุดในระยะยาว7-12 เท่า"

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา กสศ. กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลขององค์กร OECD ผ่านทางการทดสอบ PISA ที่ผ่านมาในปี 2018 และ 2015 พบว่าประเทศที่เยาวชนกลุ่มอายุ 15 ปี สามารถทำคะแนนได้ดี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับจำนวนปีที่ใช้ในการเข้าเรียนในระดับปฐมวัย รายงานของ PISA พบว่าสัดส่วนของนักเรียนอายุ 15 ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน มีความสัมพันธ์กับจำนวนปีที่ขาดโอกาสในการเข้าเรียนในระดับปฐมวัยอย่างชัดเจน

ผู้ที่ได้เรียนปฐมวัยเพียง 1 ปีหรือน้อยกว่านั้น จะมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำกว่าผู้ที่มีโอกาสได้เรียน 2-3 ปีขึ้นไปเป็นอย่างมาก และเรื่องนี้มีความสัมพันธ์กับเศรษฐานะของครอบครัวด้วย นั่นคือหากครอบครัวอยู่ในกลุ่มด้อยโอกาสทางเศรษฐานะ จะยิ่งมีโอกาสในการเข้าเรียนระดับปฐมวัยที่น้อยลง ดังนั้นภาครัฐจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมุ่งช่วยเหลือครอบครัวของเด็กเล็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ได้มีโอกาสในการเข้าเรียนในระดับปฐมวัยเพื่อผลในระยะยาว

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า

ผลสำรวจ SRS พื้นที่นําร่อง 5 จังหวัด ครอบคลุมทั้ง 5 ภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง และภูเก็ต ในกลุ่มเป้าหมายนักเรียนอายุ 5-6 ปี จำแนกเป็น ระดับชั้นอนุบาล 2 จำนวน 1,149 คน และชั้นอนุบาล 3 จำนวน 1,309 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,885 คน ทั้งโรงเรียนระดับอำเภอเมือง โรงเรียนในอำเภอกลุ่มความยากจนระดับน้อย จนถึงระดับมากที่สุด พบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีความขัดสนมากกว่าและครอบครัวที่เคยมีปัญหาอาหารไม่เพียงพอแก่การบริโภค ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะมีความพร้อมด้านคณิตศาสตร์และภาษาไทยต่ำกว่าเด็กกลุ่มอื่น

ผลศึกษาชี้ เด็กไม่ได้เรียนอนุบาลหรือเรียนช้า ส่งผลด้านพัฒนาการระยะยาว

ประเด็นนี้น่าจะบ่งบอกว่า เด็กที่เกิดในครอบครัวที่ขาดโอกาสมักจะมีพัฒนาการที่ช้า นอกจากนี้ หากเราให้ความสำคัญกับจำนวนเด็กหางแถว (เด็กที่มีระดับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม) ในแต่ละพื้นที่มากกว่าระดับคะแนนเฉลี่ย พบว่า มีเด็กปฐมวัยบางส่วนที่มีระดับความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟังค่อนข้างต่ำ (มีระดับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม) ซึ่งจังหวัดที่มีปัญหาส่วนนี้ค่อนข้างมากคือ เชียงใหม่ ร้อยละ 10.6 ศรีสะเกษ ร้อยละ 7.3 กาญจนบุรี ร้อยละ 6.1 ส่วนระยองและภูเก็ต มีปัญหานี้เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 3.4 และ ร้อยละ 1.4 ตามลำดับ หากเจาะลึกไปที่ 3 จังหวัดแรกที่มีปัญหามากที่สุด จะพบว่า ว่าเด็กกลุ่มนี้อยู่ในอำเภอที่ห่างไกล เช่น แม่อาย ฝาง จอมทอง ทองผาภูมิ หนองปรือ ราษีไศล ขุนหาญ

ส่วนความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ มีเด็กปฐมวัยจำนวนไม่น้อยที่มีระดับความพร้อมด้านการรู้จักตัวเลขและด้านการแปลงรูปในใจ ค่อนข้างต่ำ โดยสัดส่วนของเด็กปฐมวัยที่มีระดับความพร้อม ด้านการรู้จักตัวเลข ไม่ถึง 25 คะแนน มากที่สุดคือ เชียงใหม่ร้อยละ 13.9 ศรีสะเกษ ร้อยละ 13.7 กาญจนบุรี ร้อยละ 11.2 ระยองร้อยละ 10.6 และภูเก็ต ร้อยละ 9.8 ด้านการแปลงรูปในใจ ส่วนใหญ่มีเด็กที่มีคะแนนไม่ถึง 25 คะแนนในสัดส่วนที่สูงมาก ศรีสะเกษ ร้อยละ 28.1 เชียงใหม่ ร้อยละ 27.3 กาญจนบุรี ร้อยละ 21.1 ระยอง ร้อยละ 16 และภูเก็ต ร้อยละ 8

เครดิตแหล่งข้อมูล : workpointnews.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์