เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็ก


เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็ก


แนวโน้มการจ้างงานปี2565-2566 ของไทย

ทั้งนี้ ผลกระทบจากโรคระบาด รวมถึงเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลต่อประเภทงานที่ว่าจ้างเช่นกันบริษัทส่วนใหญ่ที่ร่วมทำแบบสำรวจจะจ้างงานพนักงานแบบเต็มเวลา และมีเพียง 1 ใน 5 บริษัทเท่านั้นที่เลิกจ้างพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคน

โดยในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา สายงานที่ต้องเผชิญกับการถูกเลิกจ้างในช่วงก่อนหน้านี้ กำลังกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง ซึ่งล้วนเป็นสายงานที่ผู้ประกอบการมักนิยมจ้างงานแบบเต็มเวลา เช่น สายงานบัญชี การบริหารผลิตภัณฑ์ ธุรการและทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการลูกค้า

นอกจากนั้น ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้าเป็นสายงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลและวัฒนธรรมการทำงานที่ยืดหยุ่น โดยภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลาย ตำแหน่งงานส่วนใหญ่ในสายงานนี้จะได้รับการว่าจ้างแบบพนักงานชั่วคราว

ขณะที่ บริษัทขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะจ้างงานพนักงานประจำแบบเต็มเวลาเพิ่มในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะสายงานการขาย การพัฒนาธุรกิจ การบริหารผลิตภัณฑ์ และไอที อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเล็งเห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจ คือ บริษัทอย่างน้อย 3 ใน 5 บริษัท วางแผนเพิ่มแรงงานด้วยการคงจำนวนพนักงานชั่วคราว และปรับเพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานของพนักงานเหล่านี้แทน โดยแนวโน้มดังกล่าวส่งสัญญาณว่าบริษัทขนาดเล็กส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดขายและอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีบริษัทเพียง 4% เท่านั้นที่วางแผนลดจำนวนพนักงานชั่วคราว โดยพนักงานชั่วคราวส่วนใหญ่ถูกจ้างงานในสายงานการผลิต การบริการลูกค้า และฝ่ายธุรการและทรัพยากรบุคคล เป็น 3 อันดับสูงสุด

ปั้นเด็กรุ่นใหม่ลดท่องจำ เน้นทักษะพื้นฐาน

"โรงเรียนเอกชน" ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากระบบการศึกษานั้นมีหลากหลายมากกว่าโรงเรียนรัฐ รวมถึงสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีกว่า โดยปัจจุบันโรงเรียนเอกชนมี 2 ประเภท นั่นคือ โรงเรียนในระบบมีประเภทสามัญศึกษา 3,738 โรง มีนักเรียน 2,033,857 คน ส่วนประเภทนานาชาติ 235 โรง มีนักเรียน 69,257 คน ขณะที่การศึกษานอกระบบมีทั้งหมด 7,843 โรง มีนักเรียน 1,211,021 คน

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เล่าว่าตอนนี้โรงเรียนเอกชนต้องปรับตัวทั้งการจัดการเรียนการสอน การนำหลักสูตรทันสมัย เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษามากขึ้น เพราะนอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั้งภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากร ทำให้สถานการณ์ของโรงเรียนในเอกชนมีความท้าทายทั้งที่เป็นปัญหาและโอกาสแล้ว ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่พวกเขาจะมีความฉลาดและเข้าใจเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความอดทนจำกัด เป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น การสร้างคนในยุคใหม่จึงต้องลดความรู้จากการท่องจำ มุ่งให้ความสำคัญกับทักษะพื้นฐาน และปล่อยให้เด็กไปศึกษาต่อยอดและสร้างงานขึ้นมาด้วยตัวเอง

"โรงเรียนเอกชนต้องสร้างผู้เรียนคุณภาพ ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ โดยต้องเน้นการส่งเสริม พัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เด็ก เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่ายุคดิจิทัลนี้ การแข่งขันเข้าสู่ตลาดงานสูงมาก เนื่องจากไม่ได้แข่งเฉพาะคนในประเทศ แต่ต้องสามารถแข่งขันกับผู้คนทั่วโลกได้ ตลาดงานในอนาคตไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศไทย"เลขาธิการกช. กล่าว

การศึกษาเอกชนมีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม อย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม ทั้งการศึกษาในระบบซึ่งผู้เรียนสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เช่น การจัดหลักสูตรพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี กีฬา รวมถึงการมีนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย

เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็ก


เติมเต็มการเรียนรู้ เทคนิคเพื่อนคู่คิด

นางวราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและมาตรฐานคุณภาพ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กล่าวว่าจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โครงสร้างประชากร และการเกิดโรคระบาดโควิด-19 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้มีการปรับตัว ปรับการเรียนการสอน เน้นการเรียนการสอนแบบActive Learning มาปรับใช้

โดยยึดแนวคิดสำคัญของการสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คือ "เต็มใจเรียนรู้" และ "สนุกกับการมีส่วนร่วม" การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problems Based Learning) ถูกนำมาใช้ในกลุ่มการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติจริงจากกิจกรรมการทดลองซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้าน โดยยึดจากเรื่องรอบตัวในชีวิตประจำวันที่นักเรียนสนใจ ส่วนครูผู้สอนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และปรับความยากง่ายของโจทย์ให้เป็นไปตามระดับชั้น

นอกจากนี้ โรงเรียนยังใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Think Pair Share)และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นแบบร่วมมือ (Collaborative Learning Group)ด้วยกิจกรรมการแบ่งกลุ่มหรือจับคู่ ให้นักเรียนได้พูดคุยถึงประเด็นปัญหาที่แต่ละคนสนใจ และนำมาร่วมกันคิดวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบและนำเสนอร่วมกันในชั้นเรียน วิธีการนี้ทำให้นักเรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด และมีส่วนร่วมในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียม รวมถึงเพิ่มทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอีกด้วย

ระยะแรกครูผู้สอนอาจยังมีความกังวล เนื่องจากไม่คุ้นชินกับการปรับการเรียนการสอน ทางโรงเรียนได้ใช้วิธีการPeer Coachingหรือเพื่อนช่วยเพื่อน ให้เพื่อนครูในกลุ่มสาระในช่วงวัยเดียวกันคอยนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูร่วมกัน เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากที่สุด

"โรงเรียนเห็นความสำคัญของความคิดเห็นจากนักเรียน ซึ่งนับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการนำไปปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียน ที่มีความกล้าแสดงออกและสามารถเสนอแนะถึงวิธีการสอน รวมทั้งเสียงจากผู้ปกครองที่ช่วยเสนอแนวคิดใหม่ๆ มาโดยตลอด เพื่อร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการเรียนรู้ร่วมกันต่อไป"นางวราภรณ์ กล่าว

"ทรู คลิกไลฟ์" เสริมแกร่งโรงเรียนเอกชน

"ทรู คลิกไลฟ์(true CLICK LIFE)" หนึ่งในโครงการของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษาครอบคลุมในทุกด้าน ด้วยรูปแบบบริการครบวงจรเพื่อโรงเรียนเอกชน ภายใต้การสร้างสรรค์ระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ ออกแบบหลักสูตรที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ลิขสิทธิ์เฉพาะ และผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้รูผปบบใหม่ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง

ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เล่าว่า ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ทำงานด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาหลักสูตร ผลิตสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย เพราะในอดีตการซื้อสื่อ หรือการใช้กระบวนการอื่นๆ อาจทำให้การเรียนรู้ไม่มีความต่อเนื่อง

"การเชื่อมต่อกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ขาดหายไป ไม่ได้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้เชิงคิดวิเคราะห์ หรือเชื่อมโยงได้ ดังนั้น เมื่อทางทรู สามารถผลิตหลักสูตร ผลิตสื่อ สร้างครูต้นแบบ และนำเทคโนโลยีของทรูมาพัฒนาการเรียนการสอนได้ จึงเกิดเป็นทรู คลิกไลฟ์ ที่มุ่งเข้าไปช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนที่มีความต้องการหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนคุณภาพสู่โรงเรียน" ดร.เนตรชนก กล่าว

"ทรู คลิกไลฟ์" ผู้ช่วยของครู โรงเรียนเอกชนกว่า 15 ปี จัดการเรียนการสอนแก่เด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 เน้นกระบวนการเป็นหลัก โดยโรงเรียนเอกชนเข้าร่วมจะได้หลักสูตร สื่อแอนิเมชั่น หนังสือเรียน ใบงาน และครู รวมถึงการปรับห้องเรียนให้ทันสมัย มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเชื่อมโยง เกิดเป็นกลไกล สร้างกระบวนการผลิตเด็กที่มีทักษะศตวรรษที่ 21

5 หลักสูตรพัฒนาทักษะเด็กGenZ รอบด้าน

ดร.เนตรชนก กล่าวต่อว่าโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมหลายๆ ด้าน แต่ส่วนหนึ่งพวกเขาขาด คือ ความรู้เชี่ยวชาญพิเศษในหลักสูตร ทรู คลิกไฟล์ จึงเป็นหลักสูตรที่จะสร้างพัฒนาการของเด็กGen Z ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ ความรู้ อารมณ์ และทักษะในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนใน 5 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ 2.หลักสูตรภาษาอังกฤษ 3.หลักสูตรภาษาจีน 4.หลักสูตรโรโบติกส์ และ 5.หลักสูตรดนตรี

"ทุกหลักสูตรจะเป็นเรียนร่วมไปพร้อมกับครอบครัวพี่แทน น้องแยม และพี่คลิก ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่จะเติบโตไปพร้อมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย และทุกหลักสูตรจะนำเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เข้ามาสอดแทรกในการเรียนการสอน เชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่เด็กต้องเรียน เพื่อทำให้พวกเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงๆ เรียนรู้อย่างสนุก และมีความท้าทายด้วยเกม สื่อแอนิเมชั่น ซึ่งทรู คลิกไลฟ์ พัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตร" ดร.เนตรชนก กล่าว

เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็ก


ปี 66 เปิด Learning Center อบรมครูสอนเด็ก

ถ้าเด็กรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี เขาจะไม่สามารถอยู่ได้ในโลกอนาคต ซึ่งการจะทำให้เด็กGenZ ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ต้องพัฒนาครูผู้สอน ซึ่งในปี 2566 นี้ ทางทรู คอร์ปอเรชั่น จะเปิดศูนย์ Learning Center เพื่ออบรมครูสอนเด็ก สร้างครูต้นแบบให้แก่สังคม

ดร.เนตรชนก กล่าวว่าเมื่อเด็กเดินเข้าโรงเรียน ห้องเรียน นั้นถือเป็นก้าวแรกแห่งการเรียนรู้ของพวกเขา ครูมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการเป็นโค้ชควรช่วยแนะแนวทางให้แก่เด็ก ซึ่งครูในยุคนี้ไม่ใช่ทำหน้าที่สอนตามหนังสือเรียนเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และการเรียนรู้ยุคใหม่ต้องดึงให้เด็กอยู่ในห้องเรียนตลอดชั่วโมงเรียนให้ได้

ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วม ทรู คลิกไลฟ์ 250 โรงเรียน ซึ่งในอนาคตจะมีขยายไปสู่โรงเรียนเอกชนมากขึ้น เพราะต้องการให้โรงเรียนเอกชนที่มองเห็นเด็กเป็นเพชรเม็ดงาม เข้าใจ รู้ถึงความตั้งใจ และรู้จักทรู คลิกไลฟ์ อยากให้ทั้งผู้อำนวยการ และครูมีกระบวนการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพอย่างครบวงจร ซึ่งจำนวนโรงเรียนที่เพิ่มขึ้น สามารถรับได้500-1,000 แห่ง เพราะมีกระบวนการที่ดำเนินการมาอยู่แล้วกว่า 15 ปี

"ผลลัพธ์ที่อยากเห็น คือ คุณภาพของเด็ก อยากให้มีต้นแบบผู้อำนวยการโรงเรียน และครู ซึ่งในอนาคตเด็กโรงเรียนเอกชนอาจจะเป็นผู้นำในประเทศ ถ้าเราทำได้มาก เราอาจจะมีผู้นำเด็กที่เกิดขึ้นอย่างงดงาม ใน 5 หลักสูตรนี้ จะทำให้เด็กพัฒนาไอคิว อีคิว ครอบคลุมครบทุกด้าน ต้องการสร้างเด็กดีและเก่ง โดยดีต้องนำเก่ง เพราะเก่งสอนได้ แต่ดีนั้นสอนไม่ได้ ทุกคนต้องสอนให้เป็นเด็กดีตั้งแต่เล็ก ซึ่งการสอนเป็นเด็กดีจะถูกบูรณาการนำเรื่องคุณธรรมจริยธรรมปูพื้นฐาน" ดร.เนตรชนก กล่าวทิ้งท้าย

เครดิตแหล่งข้อมูล : bangkokbiznews



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : ครวยเฮงซู
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.7.58.194

171.7.58.194,,mx-ll-171.7.58-194.dynamic.3bb.in.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ครูยังห่วยแตกเยอะแยะ จะหวังให้เด็กได้ดีคงไม่ง่าย ครูหลายตัวจงใจโกหกเด็กให้เข้าใจผิด ล่าสุดมีตัวนึงวิจารณ์ใส่ร้ายป๋าเปรมเสียๆ หายๆ ให้เด็กนักเรียนฟัง ทำมานานแค่ไหนก็ไม่รู้ เป็นเนื้อร้ายวงการการศึกษาที่ต้องกำจัดทิ้ง ครูมีเจตนาอะไรถึงพูดให้ร้ายคนอื่น ทำไมต้องปลูกฝังความคิดผิดๆ เลวๆ ให้เด็ก (สมัยก่อนเด็กที่บ้านเคยมาเล่าให้ฟังว่าครูสอนว่าทักสวยเป็นคนดี ไม่เคยโกงไม่เคยทุจริต แต่โดนใส่ร้ายจนต้องหนี อีครูเวร ตอแหลหน้าด้านๆ หลอกเด็กงี้เลย)


[ วันศุกร์ ที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 00:51 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์