เปิดวิธีคำนวณ หนี้กยศ. ใหม่ ลูกหนี้ 3.5 ล้านคน มีเฮ!!


เปิดวิธีคำนวณ หนี้กยศ. ใหม่ ลูกหนี้ 3.5 ล้านคน มีเฮ!!


กยศ.ปรับวิธีคำนวณหนี้ใหม่ ตามกฎหมายลำดับรอง ของ พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2566

กฎหมายลำดับรอง ของ พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2566 เริ่มมีผลแล้ว เมื่อ 20 มี.ค.66 โดยมีวิธีการคำนวณหนี้ใหม่ สรุปได้ดังนี้ คือ

หักต้นก่อน ซึ่ง กยศ.จะปรับลำดับการตัดชำระหนี้ โดยเงินที่ผู้กู้ยืมชำระมาจะถูกนำไปหักเงินต้นก่อน ลำดับแรก จากนั้นตามด้วยดอกเบี้ย และเบี้ยปรับ จากเดิม ตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้นลำดับสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ยอดหนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม การปรับลำดับการตัดหนี้จะคลอบคลุมลูกหนี้ กยศ. ทุกราย ราวๆ 3.5 ล้านคน โดยลูกหนี้ต้องแก้ไขยอดหนี้ในระบบหลักของ กยศ. เพื่อคำนวณใหม่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันแรกที่ผ่อน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้กำหนดด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี เบี้ยปรับลดเหลือ 0.5% ต่อปี จากเดิมที่กำหนดให้เก็บดอกเบี้ยไม่เกิน 7.5% ต่อปี และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน

แล้วคนที่ผ่อนมาแล้ว?
ส่วนกลุ่มลูกหนี้ที่ผ่อนมาแล้ว เมื่อมาคำนวณใหม่จะพบว่ายอดหนี้ลดลง หรือบางกลุ่มที่ผ่อนไม่หมด มาคำนวณใหม่ ยอดหนี้อาจลดลงจนปิดยอดได้เลย ส่วนคนที่ปิดยอดหนี้ไปแล้ว จะถูกคำนวณใหม่เพื่อดำเนินการให้ถูกต้อง

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า การคำนวณจะมีการสร้างซอฟแวร์แบบง่ายๆ ซึ่งสามารถคำนวณด้วยมือให้ก่อน

ของขวัญปีใหม่กลุ่มที่ถูกบังคับคดี
อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกหนี้ที่เร่งด่วน คือ กลุ่มแรก เป็นลูกหนี้ที่กรมบังคับคดีดูแลอยู่ เช่น ลูกหนี้ที่ฟ้องอายัด กลุ่มนี้ กยศ.จะคำนวณก่อน ซึ่งมีประมาณ 46,000 ราย และจะดำเนินการให้เสร็จภายใน ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับลูกหนี้กลุ่มนี้

ส่วนกลุ่มที่สอง คือ หมดอายุความในเดือน มี.ค. 2567 มีประมาณ 40,000 ราย ก็ คำนวณใหม่และหาก ทำได้เร็ว จะมีการดึงลูกหนี้ กยศ.กลุ่มอื่นๆ มาคำนวณด้วยมือให้มากที่สุด ก่อนที่ระบบหลักจะแล้วเสร็จ

เริ่มปรับโครงสร้างหนี้ในกรุงเทพฯ ก่อน
ด้าน นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการ กยศ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กยศ.จะเริ่มเปิดให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในกรุงเทพฯ ก่อน จากนั้นจะทยอยเปิดในภูมิภาคต่อไป

ปัจจุบัน กยศ.มีการปล่อยกู้ไปแล้ว 7 แสนล้านบาท มีผู้กู้ 7 ล้านคน วันนี้มีผู้กู้ปิดบัญชีไปแล้ว 2 ล้านคน อยู่ระหว่างการศึกษา 1.3 ล้านคน และอีก 3.5 ล้านคน อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ มีภาระหนี้ที่หมุนเวียนอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ในจำนวน 4 แสนล้านบาท อยู่ในกรมบังคับคดีหลายหมื่นคดี โดยเฉลี่ย 1 คน ยอดหนี้อยู่ที่ 1.2 แสนบาท โดยในขณะนี้ กยศ.ดำเนินการยึดทรัพย์ ชะลอการฟ้อง และชะลอการขายทอดตลาด

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของลูกหนี้ที่สามารถผ่อนได้ปกติ ก็ขอให้ผ่อนต่อไป เพื่อส่งต่อโอกาสให้รุ่นน้อง แต่ถ้าผิดนัดชำระหนี้ กยศ. ก็จะเปิดโอกาสให้ปรับโครงสร้างหนี้ได้


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์