7 เหตุผลความเป็นจริง...ที่ทำไม ภาษาอังกฤษโคตรยาก!

7 เหตุผลความเป็นจริง...ที่ทำไม ภาษาอังกฤษโคตรยาก!


What's cracking, y'all?!

ความยากของภาษาอังกฤษเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้มีระบบตัวเขียนที่ซับซ้อนแบบอารบิค ภาษาสัญลักษณ์แบบจีน หรือเสียงประหลาด
ๆ อย่างรัสเซีย (ทั่วโลกจัดให้ 3 ภาษานี้เป็นภาษาที่ยากที่สุด ภาษาไทยเราจัดว่าเป็นภาษาที่ยากอันดับต้น ๆ เหมือนกัน!) แต่ก็ต้องยอมรับว่า เป็นภาษาคนที่คนใช้เวลาเรียนมานานแสนนานแต่ยังไงก็ไม่เข้าใจสักที นั้นเป็นเพราะภาษาอังกฤษมันโคตรน่าปวดหัวว เป็นภาษาที่ชอบปั่นประสาทคนเรียน 55555

กระทู้นี้ผมจะมาพูดถึงเหตุผลว่าทำไมภาษาอังกฤษมันถึงยากนัก โดยจะยกเอาตัวอย่างภาษาอังกฤษที่น่าปวดหัว ๆ มาให้ดูครับพอเพื่อน ๆ อ่านจบ ก็ลองถามตัวเองว่า ยังอยากเรียนภาษาแบบนี้อยู่อีกมั้ยย!

ไปดูกันเลย!

1. เสียงและตัวสะกด
ตัวสะกดในภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นอะไรที่น่าปวดหัวสุด ๆ ลองดูตัวอย่างข้างล่างเลยครับ

Cough ออกเสียงว่า ค็อฟ (สระ เอาะ)
Rough ออกเสียงว่า รัฟ (สระ อะ)
Through ออกเสียงว่า ทรู (สระ อู)
Though ออกเสียงว่า โด (สระ โอ)
Bough ออกเสียงว่า บาว (สระ อาว)
แต่ทุกคำสะกดด้วย -ough หมด

แล้วทำไม Pony ออกเสียงว่า โพนี่
Bologna ออกเสียงว่า โบโลนี่
และ Acne ออกเสียงว่า แอคนี่
ทั้งที่สะกดคนละแบบกันหมดเลย

Unify อ่านว่า ยูนิฟาย
แต่ Unity อ่านว่า ยูนิทิ่
และ pyjamas อ่านว่า เพอะจ๊าเมิ่ส
ทั้งที่ใช้ตัว y เหมือนกัน

Tear กับ Tier ออกเสียงว่า เทียร์ เหมือนกัน
แต่ there กับ were กับ here ออกเสียงไม่เหมือนกัน

ยังมีคำว่า Queue (คิว (หรือแบบเป๊ะ ๆ คือ คยู้ว kyoo)) อีก
ที่สะกดมาตั้ง 5 ตัว ออกเสียงแต่ตัวแรกตัวเดียว (เขียนแค่ตัว Q ก็อ่านได้แล้ว)

มีทฤษฎีที่น่าสนใจอันหนึ่งบอกว่า ในเมื่อตัวสะกด -gh ในคำว่า enough เป็นเสียง ฟ (อีนัฟ)
และตัว o ในคำว่า women เป็นเสียงสระ อิ (Women อ่านว่า วิเมิ่น)
และตัวสะกด ti ในคำว่า nation เป็นเสียง ช
คำว่า ghoti จึงออกเสียงได้ว่า ฟิช (gh = f, o = i, ti = sh)

*คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เราเรียกว่า Homophones ตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น to, two, too / weather, whether / bare, bear / there, they're, their) ลองศึกษาเพิ่มเติมแล้วมันจะง่ายขึ้นครับ

2. มีข้อยกเว้นมากมาย
สาเหตุต่อมาคือแกรมมาร์ภาษาอังกฤษเต็มไปด้วยกฎข้อยกเว้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

กฎเรื่องการเติม s ให้กับคำกริยา (Subject-verb agreement) บอกว่า ถ้าประธานเป็น he, she, it ให้เติม - s ต่อท้ายคำกริยาด้วย
เช่น He likes apples.
แต่! ถ้ากริยานั้นลงท้ายด้วย s, sh, ch หรือ o ให้เติม -es
เช่น He often goes abroad.
แต่! ถ้ากริยานั้นลงท้ายด้วย y ให้ตัด y ออกแล้วเติม -ies
เช่น He always tries his best.
แต่! ถ้าตัวสะกดที่มาก่อนตัว y เป็นสระ ให้เติม -s เหมือนปกติ
เช่น He plays football every Sunday.

นี่แค่การเติม s อย่างเดียว ยังมีข้อยกเว้นเยอะแยะขนาดนี้

Impossible (เป็นไปไม่ได้)
แต่ inappropriate (ไม่เหมาะสม)
และ irresponsible (ไม่มีความรับผิดชอบ)
และ dishonest (ไม่ซื่อสัตย์)
และ un่happy (ไม่มีความสุข)
และ illogical (ไม่สมเหตุสมผล)
และ atypical (แปลก)
และ antipathy (ไม่ชอบ)
im-, in-, ir-, dis-, un-, a-, anti- แปลว่า ไม่ (not) เหมือนกัน แต่แล้วแต่คำว่าจะใช้ตัวไหน (คำพวกนี้เรียกว่า prefix)

Old แปลว่า แก่ ถ้าแก่กว่าบอก older
แต่ถ้าแพงกว่าบอก more expensive
แต่ถ้าดีกว่าบอก better (ไม่ใช่ gooder หรือ more good)

และกฎข้อยกเว้นมากมายที่คนที่เรียนภาษาอังกฤษทุกคนต้องเจอ

3. การเรียงประโยคที่ซับซ้อน
นอกจากประโยคบอกเล่าและประโยคคำถามจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนแล้ว ยังมีพวกส่วนขยายเช่น adjective และ adverbs ที่มีกฎการเรียงของมันอีก (orders of the words)

ยกตัวอย่างเช่น พอประโยคง่าย ๆ เช่น She told him that she loved him (เธอบอกเขาว่ารัก) มาเจอกับ only มันก็จะเป็นประมาณนี้
Only she told him that she loved him มีแค่เธอที่บอกเขาว่ารัก (คนอื่นไม่ได้บอก)
She only told him that she loved him เธอบอกแค่ว่าเธอรักเขา (เธอไม่ได้บอกเรื่องอื่นด้วย)
She told only him that she loved him เธอบอกแค่เขาคนเดียวว่าเธอรักเขา (เธอไม่ได้บอกคนอื่น)
She told him only that she loved him เธอบอกเขาแค่ว่าเธอรักเขา (เธอบอกแค่นั้น ไม่ได้บอกอะไรอีก)
She told him that only she loved him เธอบอกเขาว่ามีแค่เธอเท่านั้นแหละที่รักเขา (นอกจากเธอก็ไม่มีใครรักเขาแล้ว)
She told him that she only loved him เธอบอกเขาว่าเธอแค่รักเขาเท่านั้น (ไม่ได้ต้องการอย่างอื่นใด ขอแค่ได้รัก)
She told him that she loved only him เธอบอกเขาว่าเธอรักเขาคนเดียว (เธอรักแค่เขาคนเดียวไม่มีคนอื่น)

ขึ้นอยู่กับว่า เพื่อน ๆ จะวาง only ไว้ตรงไหน ความหมายที่ออกมาก็จะเปลี่ยนไปตามนั้น

4. การเน้นคำ (Emphasis)
นอกจากจะมีการเน้นพยางค์ (stress) ที่ภาษาส่วนมากไม่ค่อยมีแล้ว ภาษาอังกฤษยังสื่อความหมายผ่านการเน้นคำในประโยคด้วย พูดง่าย ๆ คือ ประโยคเดิม แต่ถ้าเปลี่ยนไปเน้นคำอื่น ความหมายก็เปลี่ยนไปตามคำที่เน้น ลองดูตัวอย่างข้างล่างครับ
I didn't tell him. เน้นที่ I แปลว่า ฉันไม่ได้บอกเขา แต่คนอื่นอาจจะบอก
I didn't tell him. เน้นที่ didn't แปลว่า ฉันไม่ได้บอกเขาแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์
I didn't tell him. เน้นที่ tell แปลว่า ฉันไม่ได้บอกเขา ‘ตรง ๆ' แต่เขาอาจจะรู้เพราะฉันมีพิรุธหรือทำอะไรบ้างอย่างก็ได้
I didn't tell him. เน้นที่ him แปลว่า ฉันไม่ได้บอกเขา แต่บอกคนอื่น

ซึ่งคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อยู่แล้ว เขาก็เน้นคำไปตามความรู้สึก แต่กับเรานี่สิ ต้องใช้เวลาฝึกอีกเยอะ

5. สำเนียงต่าง ๆ
ราวกับว่าเรื่องที่ผ่านมายังทำให้เราลำบากไม่พอ คำที่เขียนเหมือนกัน ความหมายเดียวกัน แต่ฝรั่งแต่ละเปศก็ยังเลือกที่จะออกเสียงต่างกัน

คำว่า Bath คนอังกฤษอ่านว่า บ้าท คนอเมริกันอ่านว่า แบ็ท
รวมไปถึง class, tomato, cast, fast และอื่น ๆ

Car เวลาคนอเมริกันออกเสียงจะม้วนลิ้นตัว r ขึ้นมาด้วย แต่คนอังกฤษไม่มีการม้วนลิ้นหรือแม้แต่ขยับลิ้นใด ๆรวมไปถึงทุกคำที่มี r เป็นตัวสะกด เช่น form, art, farmer

นอกจากสองประเทศนี้ (England กับ USA) ยังมีสำเนียงอื่น ๆ ย่อยลงไปอีกมากมาย ที่เราเรียกว่า สำเนียงท้องถิ่น (Regional accents) เช่น Cockney accent, AAV accent (สำเนียงคนผิวสี), สำเนียงJamaican, และอื่น ๆ

และเรายังต้องเจอกับสำเนียงของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่เหมือนกันอย่างออสเตรเลีย, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ ที่ประโยคง่าย ๆ อย่าง How are you doing? หรือ Do you know what time it is? อาจจะฟังดูเหมือนเป็นคนละภาษาเลยก็ได้

นี่ยังไม่รวมถึงสำเนียงจากคนทั่วโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเหมือนกันที่เราต้องพบเจออีกนะ Holy shoot!!

6. วลี และสำนวนต่าง ๆ (idioms)

Come แปลว่า มา และ Across แปลว่า ข้าม
แต่คำว่า come across แปลว่า พบเจอโดยบังเอิญ

Bring someone down แปลว่า ทำให้เสียใจ
แต่ Bring someone up แปลว่า เลี้ยงดูขึ้นมาจนโต

ลงจากรถเมล์บอก get off
แต่ลงจากรถยนต์บอก get out

*คำข้างบนเหล่านี้เราเรียกว่า Phrasal verbs คือ คำกริยาที่มี preposition มาต่อท้ายแล้วความหมายเปลี่ยนไป ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น give แปลว่า ให้ แต่ give up แปลว่า ยอมแพ้ ส่วน give in แปลว่า ยอมจำนน และ give out แปลว่า แบ่งปัน, บริจาค

นอกจากจะมี phrasal verbs แล้ว เรายังมี idioms ที่จะมาทำให้ปวดหัวอีก
It's raining cats and dogs แปลว่า ฝนตกหนักมาก ไม่เกี่ยวกับหมาแมว
It's a piece of cake แปลว่า มันง่ายมากก ไม่เกี่ยวกับเค้กหนึ่งชิ้น
Break a leg แปลว่า โชคดีนะ ไม่ได้จะไปหักขาแต่อย่างใด
When pigs fly! แปลว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอก! ไม่มีหมูบินมานะ!
See eye to eye แปลว่า เห็นด้วย ไม่ใช่ ตาต่อตา เหมือนบ้านเรา

*Idiom คือคำหรือประโยคที่เราไม่สามารถแปลความหมายมันตรง ๆ ได้ ต้องถามเจ้าของภาษาเท่านั้นว่ามันแปลว่าอะไร

7. ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ไม่ make sense
ไม่มีแฮมใน hamburger ไม่มีแอปเปิ้ลอยู่ใน pineapple และไม่มีไข่อยู่ใน eggplant
French fries ไม่ใช่ของฝรั่งเศส และ English muffins ไม่ใช่ของอังกฤษ
Sweetmeats คือ ลูกอม แต่ sweetbreads คือ เนื้อสัตว์
Look กับ see คำหมายเดียวกัน แต่ overlook กับ oversee คนละความหมาย

Source:
Why Is English So Hard to Learn? - Oxford Royale Academy
21 Times Tumblr Proved English Is The Worst Language Ever - Buzzfeed

ภาษาอังกฤษนี่เป็นภาษาที่โคตรน่าปวดหัวเลยว่ามั้ย แต่ไม่ได้จะให้เพื่อน ๆ เลิกเรียนหรืออะไรนะ เอามาให้อ่านเพื่อให้เรามีภูมิคุ้มกันต่อความท้อแท้ที่อาจจะเจอ เฮ้ยย ฟังดูเหมือนจะเว่อ 55555 แต่ผมเชื่อว่าพอเราได้รู้แล้วว่าภาษาอังกฤษมันยากตรงไหน ตรงไหนที่เราต้องระวังและต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากกว่าเรื่องอื่น ๆ มันก็จะทำให้เราเรียนภาษาได้ง่ายขึ้น แต่เราก็ต้องพยายามให้มากขึ้นด้วยนะ สู้ ๆ ครับ

แล้วเจอกันกระทู้หน้า จะเป็นเรื่องเหตุผลว่าทำไมภาษาอังกฤษมันยากสำหรับคนไทย ต่อจากกระทู้นี้ น่าจะพอช่วยให้เราเรียนภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้นพอสมควรครับ

ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่: www.facebook.com/MyFathersAnEnglishMan (Page: พ่อผมเป็นคนอังกฤษ)


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์