นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 2558/2559 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมด 110 แห่งใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่าอัตราการจ่ายค่าจ้างขั้นต้นโดยเฉลี่ยของวุฒิปวช. อยู่ที่ 10,120 บาท ,ปวส. 11,383 บาท ป.ตรี 15,491 บาท ป.โท 21,047 บาท และป.เอก 35,985 บาท
หากเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างขั้นต้น สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ระหว่างปี 2558 กับปี 2557 จะพบว่า วุฒิป.ตรีมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 9.49% แต่ถ้าเปรียบเทียบค่าจ้างเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2552 -2558) พบว่า วุฒิ ปวช.มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเพิ่มขึ้นสูงสุด 57.85%
อย่างไรก็ตามจากตัวเลขดังกล่าว แสดงถึงแนวโน้มในอนาคตที่ค่าจ้างในวุฒิปวช. และ ปวส. จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าวุฒิปริญญาตรี เนื่องจากทิศทางของตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการแรงงานที่มีทักษะ และประสบการณ์ในตลาดแรงงานมีสูงกว่า ซึ่งผู้ปรกอบการจะจะเน้นรับคนเข้าทำงานโดยดูจากทักษะ และความสามารถมากกว่าที่จะดูเพียงแค่ใบปริญญา หรือระดับการศึกษา ทำให้ในอนาคต แรงงานที่จบการศึกษาจากปริญญาตรี อาจประสบปัญหาตกงานได้