16 มิ.ย.นี้แน่นอน! คลอดเกณฑ์วิทยฐานะแนวใหม่

16 มิ.ย.นี้แน่นอน! คลอดเกณฑ์วิทยฐานะแนวใหม่


ตีกรอบแต่ละระดับ 5 ปี-พร้อมมี "ฟาสต์แทร็ก" ย้ำชัดครูทุกกลุ่มไม่เสียสิทธิ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ที่ประชุมไดพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะบุคลากรทางการศึกษา สายการสอน ซึ่งได้มีการหารืหลักการพิจารณาวิทยฐานะแนวใหม่ ที่นอกจากจะพิจารณาคุณภาพงานใน 3 เรื่อง คือ การจัดการเรียนการสอน กาบริหารจัดการชั้นเรียน และการพัฒนาตนเองแล้ว จะพิจารณาการสั่งสมประสบการณ์ทั้งการสอน เช่น การนับชั่วโมงการสอน และประสบการณ์ด้านความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้น เช่น การอบรมและพัฒนา ขณะที่หลักเกณฑ์และวิธีกาเลื่อนวิทยฐานะแต่ละวิทยฐานะจะมีกำหนดให้เหมาะสมกับระดับวิทยฐานะ และสะท้อนความเชี่ยวชาญ รวมทั้งต้องดูผลที่เกิดขึ้นกับเด็กด้วย ซึ่งการเลื่อนวิทยฐานะแต่ละระดับจะกำหนดระยะเวลา 5 ปี แต่จะมีช่องทางพิเศษหรือฟาสต์แทร็กสำหรับครูที่มีความรู้ความสามารถพิเศษสอนนพื้นที่พิเศษหรือมีความยุ่งยากในการปฏิบัติเป็นพิเศษด้วย


ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า จะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในบอร์ด ก.ค.ศ. วันที่ 16 มิ.ย.นี้ เพื่อเห็นชอบและประกาศใช้ให้ทันตามกำหนดในวันที่ 5 ก.ค.นี้ โดยจะพิจารณา 3 เรื่อง คือ 1.หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ สายงานสอน 2.ตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานจากการปฏิบัติ งานจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน และ 3.บทเฉพาะกาล หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี และเลื่อวิทยฐานะใหม่ ซึ่งในส่วนของบทเฉพาะกาลช่วงเปลี่ยนผ่านจะแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่ยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ ว.17/2552 ไว้ก่อนหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ประกาศใช้ กลุ่มผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนหรือตั้งแต่วันที่หลักเกณฑ์และวิธการนี้ประกาศใช้ กลุ่มผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนหรือตั้งแต่วันที่หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ประกาศใช้ และกลุ่มผู้ที่คุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการหม่กำหนด ซึ่งยืนยันว่าจะยังคงสิทธิของทุกกลุ่มไว้เหมือนเดิม

"บทเฉพาะกาลนี้ได้ปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นรวมถึงโฟกัสกรุ๊ป ดังนั้นขอให้มั่นใจว่าครูจะไม่เสียสิทธิ และจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความก้าวหน้าของวิชาชีพอื่นแล้ว เกณฑวิทยฐานะใหม่นี้มีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า เดิมพบว่าครูจะไปค้างที่ชำนาญการพิเศษกว่า 200,000 คน แต่เกณฑ์ใหม่มโอกาสไปได้ถึงวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษมากขึ้น แต่แม้จะมีการใช้หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่ไปแล้ว รมว.ศธ.ยืนยันว่า ถ้ายังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็ยังปรัปรุงแก้ไขก็ยังปรับปรุงได้" ดร.ชัยพฤกษ์กล่าว.

 

 

 


 

 



 


 


 

 

 

 

 

 

 


เครดิต >> ไทยรัฐ 

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์