ทปอ. แจงปมถกสนั่น ข้อสอบ TGAT ‘อาหารที่สร้างก๊าซเรือนกระจก’
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ในการประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ออกมาชี้แจงประเด็นดังกล่าว พร้อมอธิบายเจตนาในการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุว่า ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) นั้น
คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง และทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบ ของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals) เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยรถสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะแล้ว การเลือกชนิดอาหารที่รับประทาน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน
ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Work force Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก
ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศ ไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นผลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม
และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน
คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง และทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบ ของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals) เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยรถสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะแล้ว การเลือกชนิดอาหารที่รับประทาน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน
ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Work force Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก
ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศ ไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นผลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม
และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ข้อสอบที่เป็นประเด็นมีว่า
เมนูใดต่อไปนี้สร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ? (ข้อสอบชุดที่2)
1.ราดหน้าหมู
2.สุกี้ทะเลรวมมิตร
3.สเต็กปลาแซลมอน
4.ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย
ทำเอาผู้ที่ได้อ่านข้อสอบไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ต่างพากันเข้ามาวิเคราะห์คำตอบกันอย่างล้นหลาม โดยเด็กแต่ละคนก็ตอบต่างกันออกไป แต่ก็มีเด็ก ๆ หลายคนคาใจกับคำตอบสุด ๆ จนอยากได้เฉลย ขณะที่บางคนก็งงว่าข้อสอบแบบนี้วัดผลอะไรได้บ้าง
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น