ส่องเงินเดือน “ครูไทย” ที่ยังต่ำกว่าครูเมืองนอกหลายเท่า
เมื่อกล่าวถึง "อาชีพ" ที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในทุกประเทศ แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือ "อาชีพครู" เพราะเป็นอาชีพที่มีส่วนสำคัญในการให้ความรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ โดยให้ความรู้ทั้งเรื่องวิชาการและการใช้ชีวิต เพื่อที่เด็กไทยจะได้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
ดังนั้น "ครู" จึงมีความสำคัญในหลายมิติ ดังนั้น ก็ไม่แปลกที่ค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาจึงควรมีความสัมพันธ์กับหน้าที่และความรับผิดชอบ เนื่องจากครูไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้ความรู้กับเด็กเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ปกครองของเด็กทุกคนเมื่อถึงวัยต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันหน้าที่ของครูกลับไม่ใช่เพียงแค่สอนหนังสือหรือทำแผนการสอนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การทำงานวิชาการทั้งเพื่อขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่ง อยู่เวรทั้งกลางวันและกลางคืน ขายของในสหกรณ์ ทำอาหาร จัดบอร์ด ไปจนถึงทำความสะอาดโรงเรียน เรียกได้ว่าเป็นทุกอย่างให้กับนักเรียนและโรงเรียน นอกจากนี้ยังครูหลายคนต้อง "ติดหนี้" เนื่องจากเงินเดือนไม่พอใช้ แต่เมื่อเปรียบเทียบเงินเดือนระหว่างครูไทยและครูในต่างประเทศกลับพบว่าฐานเงินเดือนแตกต่างกันพอสมควร
จากการเปรียบเทียบเงินเดือนครูในหลายประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022 พบว่า สหรัฐอเมริการเป็นประเทศที่ให้เงินเดือนครูสูงมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศ ขณะที่เงินเดือนครูไทยกลับน้อยกว่าเกณฑ์ของเงินเดือนขั้นต่ำ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปสำรวจ "เงินเดือนครู" จากทั่วโลกว่ามีประเทศใดบ้างที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านการศึกษา ซึ่งสะท้อนด้วยเงินเดือนที่สมน้ำสมเนื้อ
สหรัฐอเมริกา เงินเดือนครูประมาณ 206,000 บาท
แม้ว่าเงินเดือนครูที่สหรัฐอเมริกาจะสูงถึงปีะมาณ 206,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำถึง 5 เท่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐที่สังกัดด้วย สำหรับค่าแรงขั้นต่ำของพลเมืองอเมริกันอยู่ที่ประมาณ 41,000 บาท ต่อเดือน นอกจากนี้ระดับเงินเดือนครูขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และถ้ามีความสามารถเฉพาะทางเพิ่มหรือจบปริญญาเอกก็จะมีเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับหน้าที่ของครูอเมริกันนอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังต้องคอยดูแลและควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน ที่สำคัญการทำงานของครูต้องถูกตรวจสอบจากส่วนกลางได้ ตั้งแต่วิธีการสอนไปถึงการจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย โดยมีโรงเรียนคอยสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ให้ตามความเหมาะสม
สวีเดน เงินเดือนครูประมาณ 146,000 บาท
สำหรับเงินเดือนของครูในสวีเดนสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 3.5 เท่า ซึ่งก็คือ 42,000 บาท ดังนั้นเงินเดือนครูสวีเดนจึงอยู่ที่ 146,000 บาทต่อเดือน แต่นอกจากหน้าที่สอนหนังสือและงานวิชาการแล้ว ครูชาวสวีเดนจำเป็นต้องเน้นให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องการใช้ชีวิตในประจำวันของเด็กแต่ละคนที่มีปัญหาแตกต่างกัน โดยครูจำเป็นต้องมีบทบาทเป็นเพื่อนคู่คิดของนักเรียนด้วย เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตและออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุข
เนเธอร์แลนด์ เงินเดือนครูประมาณ 196,000 บาท
ในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการคัดเลือกครูที่เข้มข้นมาก เนื่องจากหน้าที่ครูค่อนข้างหนัก แต่ก็มีเงินเดือนที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 196,000 บาทต่อเดือน มากกว่าขั้นแรงขั้นต่ำ 3.4 เท่า ซึ่งก็คือ 58,000 บาทต่อเดือน และสาเหตุที่ครูได้รับค่าตอบแทนสูงเนื่องจากรัฐบาลมองว่าเป็นการกระตุ้นให้ครูทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับครูทั่วประเทศเพิ่มให้เป็นโบนัสกรณีพิเศษเนื่องจากต้องดูแลเด็กมากขึ้น
แคนาดา เงินเดือนครูประมาณ 118,000 บาท
สำหรับแคนาดาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการคัดเลือกครูอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้นอกจากจำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาเฉพาะด้านแล้ว ยังต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างเนื่องจากมีเด็กนักเรียนมาจากหลายประเทศทั่วโลก โดยรายได้ต่อเดือนของครูในประเทศแคนาดาอยู่ที่ประมาณ 118,000 บาทต่อเดือน มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 1.9 เท่า หรือ 61,000 บาท
สิ่งสำคัญที่ครูแคนาดาต้องให้ความสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ คือ การสร้างความเสมอภาคในห้องเรียน ท่ามกลางเด็กนักเรียนต่างเชื่อชาติและศาสนา ทำให้ครูต้องพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันใหม่อยู่ตลอดเวลา และต้องจบการศึกษาจากสถาบันครูที่ผ่านมาตรฐานการรับรองโดยรัฐ นอกจากนี้ครูจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน
ญี่ปุ่น เงินเดือนครูประมาณ 119,000 บาท
สำหรับค่าแรงขั้นต่ำคนญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 43,000 บาทต่อเดือน ส่วนครูมีรายได้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 2.8 เท่า ดังนั้นเงินเดือนครูญี่ปุ่นจึงอยู่ที่ประมาณ 119,000 บาท ต่อเดือนและมีโบนัสประจำปี โดยผู้ที่จะเป็นครูที่นี่ได้จะต้องจบการศึกษาจากสถาบันเรียนครูโดยตรง ผ่านการประเมิณจากรัฐและระบบคัดกรองครูที่มีความเข้มงวด ส่งผลให้ได้ครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่สำคัญการศึกษาในญี่ปุ่นมีการแข่งขันสูงทำให้งานของครูค่อนข้างหนัก เนื่องจากผู้ปกครองมีความคาดหวังสูงว่าบุตรหลานจะสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศได้ ดังนั้นแม้จะเป็นช่วงปิดเทอม แต่ครูก็ยังต้องทำงานอยู่เนื่องจากหลายโรงเรียนในญี่ปุ่นบังคับเรียนภาคฤดูร้อนด้วย
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงินเดือนครูจากทั่วโลกที่ถือว่ามีรายได้สูงกว่าอาชีพอื่นๆ มากพอสมควร ส่วนใหญ่จะเป็นชาติตะวันตกที่ให้ความสำคัญด้านนโยบายการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ และในประเทศไทยนั้นครูที่จบปริญญาตรีมีเงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ แต่กลับมีความรับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอนอีกมาก ทั้งการอยู่เวรที่โรงเรียนในวันหยุดและตอนกลางคืน ทำงานเอกสารให้ผู้บริหาร ทำอาหาร ทำความสะอาด เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่เพียงพอทำให้ครูบางคนต้องสอนนักเรียนมากเกินกว่าความรับผิดชอบ เช่น ครูหนึ่งคนสอนหลายวิชา หรือ ครูหนึ่งคนรับผิดชอบนักเรียนหลายระดับชั้น เป็นต้น
ประเทศจะเจริญได้อย่างไร เมื่อครูไทยยังเป็นหนี้?
แม้ว่าครูจะเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในทุกประเทศ แต่จากปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นทำให้ครูไทยหลายคนไม่มีเวลาให้นักเรียนเต็มที่ รวมถึงรายได้ครูไทยส่วนทางกับรายจ่าย หรือเรียกว่า ชักหน้าไม่ถึงหลัง และเมื่อครูมีรายได้น้อยจึงส่งผลให้ครูหลายคนต้องหันไปกู้เงินจากสหกรณ์หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ครูมีหนี้สินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีครูและข้าราชการบำนาญเป็นหนี้สหกรณ์และสถาบันการเงินกว่า 900,000 คน มีภาระหนี้รวมประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้ครูในสังกัด เช่น เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเร่งด่วน หรือการรวมหนี้ครูไว้ในสถาบันการเงินแหล่งเดียว กำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับการผ่อนชำระหนี้ของครูให้ได้มากที่สุด แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากเป็นปัญหาที่เรื้อรัง เมื่อมีการกู้แล้วหนึ่งครั้งแล้วก็ย่อมมีครั้งต่อไปตามมากลายเป็นปัญหาที่ไม่มีที่สิ้นสุด
นอกจากปัญหาเรื่องค่าตอบแทนครูซึ่งเป็นปัญหามานานแล้ว อีกประเด็นที่ทำให้ครูมีเวลาให้นักเรียนน้อยลงเนื่องจากระบบการทำงานที่บีบให้ครูต้องทำงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ส่งผลเมื่อมีการสอบวัดระดับเด็กไทยจึงได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะไม่ได้เรียนจากห้องเรียนอย่างเต็มที่นั่นเอง
เครดิตแหล่งข้อมูล : bangkokbiznews
ดังนั้น "ครู" จึงมีความสำคัญในหลายมิติ ดังนั้น ก็ไม่แปลกที่ค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาจึงควรมีความสัมพันธ์กับหน้าที่และความรับผิดชอบ เนื่องจากครูไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้ความรู้กับเด็กเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ปกครองของเด็กทุกคนเมื่อถึงวัยต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันหน้าที่ของครูกลับไม่ใช่เพียงแค่สอนหนังสือหรือทำแผนการสอนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การทำงานวิชาการทั้งเพื่อขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่ง อยู่เวรทั้งกลางวันและกลางคืน ขายของในสหกรณ์ ทำอาหาร จัดบอร์ด ไปจนถึงทำความสะอาดโรงเรียน เรียกได้ว่าเป็นทุกอย่างให้กับนักเรียนและโรงเรียน นอกจากนี้ยังครูหลายคนต้อง "ติดหนี้" เนื่องจากเงินเดือนไม่พอใช้ แต่เมื่อเปรียบเทียบเงินเดือนระหว่างครูไทยและครูในต่างประเทศกลับพบว่าฐานเงินเดือนแตกต่างกันพอสมควร
จากการเปรียบเทียบเงินเดือนครูในหลายประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022 พบว่า สหรัฐอเมริการเป็นประเทศที่ให้เงินเดือนครูสูงมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศ ขณะที่เงินเดือนครูไทยกลับน้อยกว่าเกณฑ์ของเงินเดือนขั้นต่ำ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปสำรวจ "เงินเดือนครู" จากทั่วโลกว่ามีประเทศใดบ้างที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านการศึกษา ซึ่งสะท้อนด้วยเงินเดือนที่สมน้ำสมเนื้อ
สหรัฐอเมริกา เงินเดือนครูประมาณ 206,000 บาท
แม้ว่าเงินเดือนครูที่สหรัฐอเมริกาจะสูงถึงปีะมาณ 206,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำถึง 5 เท่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐที่สังกัดด้วย สำหรับค่าแรงขั้นต่ำของพลเมืองอเมริกันอยู่ที่ประมาณ 41,000 บาท ต่อเดือน นอกจากนี้ระดับเงินเดือนครูขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และถ้ามีความสามารถเฉพาะทางเพิ่มหรือจบปริญญาเอกก็จะมีเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับหน้าที่ของครูอเมริกันนอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังต้องคอยดูแลและควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน ที่สำคัญการทำงานของครูต้องถูกตรวจสอบจากส่วนกลางได้ ตั้งแต่วิธีการสอนไปถึงการจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย โดยมีโรงเรียนคอยสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ให้ตามความเหมาะสม
สวีเดน เงินเดือนครูประมาณ 146,000 บาท
สำหรับเงินเดือนของครูในสวีเดนสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 3.5 เท่า ซึ่งก็คือ 42,000 บาท ดังนั้นเงินเดือนครูสวีเดนจึงอยู่ที่ 146,000 บาทต่อเดือน แต่นอกจากหน้าที่สอนหนังสือและงานวิชาการแล้ว ครูชาวสวีเดนจำเป็นต้องเน้นให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องการใช้ชีวิตในประจำวันของเด็กแต่ละคนที่มีปัญหาแตกต่างกัน โดยครูจำเป็นต้องมีบทบาทเป็นเพื่อนคู่คิดของนักเรียนด้วย เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตและออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุข
เนเธอร์แลนด์ เงินเดือนครูประมาณ 196,000 บาท
ในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการคัดเลือกครูที่เข้มข้นมาก เนื่องจากหน้าที่ครูค่อนข้างหนัก แต่ก็มีเงินเดือนที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 196,000 บาทต่อเดือน มากกว่าขั้นแรงขั้นต่ำ 3.4 เท่า ซึ่งก็คือ 58,000 บาทต่อเดือน และสาเหตุที่ครูได้รับค่าตอบแทนสูงเนื่องจากรัฐบาลมองว่าเป็นการกระตุ้นให้ครูทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับครูทั่วประเทศเพิ่มให้เป็นโบนัสกรณีพิเศษเนื่องจากต้องดูแลเด็กมากขึ้น
แคนาดา เงินเดือนครูประมาณ 118,000 บาท
สำหรับแคนาดาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการคัดเลือกครูอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้นอกจากจำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาเฉพาะด้านแล้ว ยังต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างเนื่องจากมีเด็กนักเรียนมาจากหลายประเทศทั่วโลก โดยรายได้ต่อเดือนของครูในประเทศแคนาดาอยู่ที่ประมาณ 118,000 บาทต่อเดือน มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 1.9 เท่า หรือ 61,000 บาท
สิ่งสำคัญที่ครูแคนาดาต้องให้ความสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ คือ การสร้างความเสมอภาคในห้องเรียน ท่ามกลางเด็กนักเรียนต่างเชื่อชาติและศาสนา ทำให้ครูต้องพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันใหม่อยู่ตลอดเวลา และต้องจบการศึกษาจากสถาบันครูที่ผ่านมาตรฐานการรับรองโดยรัฐ นอกจากนี้ครูจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน
ญี่ปุ่น เงินเดือนครูประมาณ 119,000 บาท
สำหรับค่าแรงขั้นต่ำคนญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 43,000 บาทต่อเดือน ส่วนครูมีรายได้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 2.8 เท่า ดังนั้นเงินเดือนครูญี่ปุ่นจึงอยู่ที่ประมาณ 119,000 บาท ต่อเดือนและมีโบนัสประจำปี โดยผู้ที่จะเป็นครูที่นี่ได้จะต้องจบการศึกษาจากสถาบันเรียนครูโดยตรง ผ่านการประเมิณจากรัฐและระบบคัดกรองครูที่มีความเข้มงวด ส่งผลให้ได้ครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่สำคัญการศึกษาในญี่ปุ่นมีการแข่งขันสูงทำให้งานของครูค่อนข้างหนัก เนื่องจากผู้ปกครองมีความคาดหวังสูงว่าบุตรหลานจะสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศได้ ดังนั้นแม้จะเป็นช่วงปิดเทอม แต่ครูก็ยังต้องทำงานอยู่เนื่องจากหลายโรงเรียนในญี่ปุ่นบังคับเรียนภาคฤดูร้อนด้วย
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงินเดือนครูจากทั่วโลกที่ถือว่ามีรายได้สูงกว่าอาชีพอื่นๆ มากพอสมควร ส่วนใหญ่จะเป็นชาติตะวันตกที่ให้ความสำคัญด้านนโยบายการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ และในประเทศไทยนั้นครูที่จบปริญญาตรีมีเงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ แต่กลับมีความรับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอนอีกมาก ทั้งการอยู่เวรที่โรงเรียนในวันหยุดและตอนกลางคืน ทำงานเอกสารให้ผู้บริหาร ทำอาหาร ทำความสะอาด เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่เพียงพอทำให้ครูบางคนต้องสอนนักเรียนมากเกินกว่าความรับผิดชอบ เช่น ครูหนึ่งคนสอนหลายวิชา หรือ ครูหนึ่งคนรับผิดชอบนักเรียนหลายระดับชั้น เป็นต้น
ประเทศจะเจริญได้อย่างไร เมื่อครูไทยยังเป็นหนี้?
แม้ว่าครูจะเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในทุกประเทศ แต่จากปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นทำให้ครูไทยหลายคนไม่มีเวลาให้นักเรียนเต็มที่ รวมถึงรายได้ครูไทยส่วนทางกับรายจ่าย หรือเรียกว่า ชักหน้าไม่ถึงหลัง และเมื่อครูมีรายได้น้อยจึงส่งผลให้ครูหลายคนต้องหันไปกู้เงินจากสหกรณ์หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ครูมีหนี้สินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีครูและข้าราชการบำนาญเป็นหนี้สหกรณ์และสถาบันการเงินกว่า 900,000 คน มีภาระหนี้รวมประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้ครูในสังกัด เช่น เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเร่งด่วน หรือการรวมหนี้ครูไว้ในสถาบันการเงินแหล่งเดียว กำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับการผ่อนชำระหนี้ของครูให้ได้มากที่สุด แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากเป็นปัญหาที่เรื้อรัง เมื่อมีการกู้แล้วหนึ่งครั้งแล้วก็ย่อมมีครั้งต่อไปตามมากลายเป็นปัญหาที่ไม่มีที่สิ้นสุด
นอกจากปัญหาเรื่องค่าตอบแทนครูซึ่งเป็นปัญหามานานแล้ว อีกประเด็นที่ทำให้ครูมีเวลาให้นักเรียนน้อยลงเนื่องจากระบบการทำงานที่บีบให้ครูต้องทำงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ส่งผลเมื่อมีการสอบวัดระดับเด็กไทยจึงได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะไม่ได้เรียนจากห้องเรียนอย่างเต็มที่นั่นเอง
เครดิตแหล่งข้อมูล : bangkokbiznews
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น