ทฤษฎีหมวก 6 ใบ สอนคิดให้รอบด้าน


ทฤษฎีหมวก 6 ใบ สอนคิดให้รอบด้าน

เพราะเด็กแต่ละคนมีนิสัยและมุมมองความคิดที่แตกต่างกัน แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาฉายแววเด่นและพัฒนาจุดด้อย? อักษรขอนำเสนอเครื่องมือช่วยครูปั้นเด็กให้มีคุณภาพ ด้วยการสร้างกระบวนคิดอย่างเป็นระบบ ตามแบบทฤษฎีหมวก 6 ใบ ครูอาจสงสัยว่าเอ๊ะ! ทฤษฎีหมวก 6 ใบหมายถึงอะไร แล้วนำมาใช้กับการสอนได้อย่างไร มาอ่านต่อได้เลยครับ

ทฤษฎีหมวก 6 ใบ ของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ศาสตราจารย์ด้านการคิดชาวอิตาลี บอกว่าหมวกแต่ละใบ คือการสร้างเทคนิคการคิดให้เป็นระบบ ด้วยการดึงความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งคนที่สามารถกระตุ้นเด็กให้เกิดการคิดเป็นระบบได้ก็คือครู เพราะไม่ว่าในห้องเรียนเด็กจะแสดงพฤติกรรมแบบไหน หรือมีนิสัยอย่างไรเวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อน ครูควรสังเกตนิสัยเบื้องลึกเหล่านั้น แล้วใช้ทฤษฎีหมวก 6 ใบ มาช่วยดึงจุดเด่นของเด็กแต่ละคนออกมา เช่น

1. หมวกสีขาว

คือเด็กที่ต้องการข้อมูลความจริง ชอบตัวเลขและผลพิสูจน์ยืนยัน โดยไม่สนใจความคิดเห็นใด ๆ
จุดเด่นของเด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้คือจะมีความเป็นกลาง และเชื่อตามข้อมูลที่พิสูจน์ได้เท่านั้น

2. หมวกสีแดง
คือเด็กที่กล้าแสดงออก และชอบความชัดเจน ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ใช้อารมณ์ตัดสินมากกว่าเหตุผล
จุดเด่นคือเด็กกลุ่มนี้มักมีความคิดสร้างสรรค์ สร้างการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นศิลปินที่สร้างผลงานจากแรงบันดานใจ

3. หมวกสีดำ

คือเด็กที่ชอบการปฏิเสธ และมักทำอะไรที่มีเหตุผลมารองรับการกระทำเสมอ
จุดเด่นของเด็กประเภทนี้คือมีการไตร่ตรองความคิดอย่างถี่ถ้วน มีความรอบคอบและระมัดระวัง ดังนั้นความเสียหายจากผลของการกระทำมักไม่เกิดจากเด็กกลุ่มนี้

4. หมวกสีเหลือง

คือเด็กที่มีมุมมองเชิงบวก และมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์
จุดเด่นของเด็กประเภทนี้คือการแสวงหาทางเลือกที่เป็นประโยชน์ และสร้างโอกาสที่จะต่อยอดความคิดและผลงานได้

5. หมวกสีเขียว
คือเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์แบบนอกกรอบจุดเด่นของเด็กประเภทนี้คือมีความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง ต้องการสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา


6. หมวกสีน้ำเงิน
คือเด็กที่ชอบการจัดการ ต้องการความชัดเจน ชอบควบคุมคนอื่นจุดเด่นของเด็กประเภทนี้คือบริหารความคิดได้ดี รู้จักวางแผนชีวิต ชอบให้ทุกอย่างมีระเบียบตลอดเวลา


ซึ่งการนำทฤษฎีหมวก 6 ใบมาใช้เสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน จะช่วยให้ทุกครั้งที่ประชุมระดมความคิด เกิดไอเดียไหลลื่น ผู้เรียนสามารถเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน เมื่อครูรู้แล้วว่าผู้เรียนแต่ละคนมีจุดเด่นอะไร ก็สามารถใช้บทบาทสมมติจากหมวกแต่ละใบมาเสริมผู้เรียนให้มีความคิดที่รอบด้าน และมองทุกอย่างได้ครอบคลุมขึ้น เช่น เมื่อมีการประชุมครั้งต่อไป ครูอาจให้ผู้เรียนเริ่มจากสวมหมวกสีน้ำเงิน เพื่อให้บอกสาเหตุและเป้าหมายของการประชุมได้ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นหมวกสีขาว ที่ช่วยให้การอธิบายข้อมูลต่าง ๆ มีความเป็นกลาง พอเปลี่ยนมาสวมหมวกสีเหลือง ก็เพื่อให้หาข้อดีและจุดเด่นของการประชุมเจอ และหมวกสีดำ เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรค์ที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากนั้นให้สวมหมวกสีเขียว เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แล้ววัดความพอใจของวิธีการทั้งหมดด้วยหมวกสีแดง

นอกจากตัวอย่างเรื่องการประชุมข้างต้นแล้ว ครูสามารถประยุกต์ใช้แนวความคิดนี้มาเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้ลองฝึกคิดสนุก ๆ เป็นกิจกรรมที่ครูนำมาปรับใช้ในห้องเรียน เพื่อฝึกให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าแสดงออกตามประสบการณ์ที่มีและสีของหมวกที่ได้

เครดิตแหล่งข้อมูล :aksorn


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์