ยอมรับความแตกต่างในห้องเรียนเริ่มได้ที่ตัวครู
เริ่มต้นได้ที่ตัวครู
หลายครั้งที่ครูพบว่าในห้องเรียนของตัวเองมีการรวมกลุ่มกันแกล้งเพื่อน อาจด้วยการพูดจาล้อเลียน หรือการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนของครูอาจขาดการเคารพผู้อื่น แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่ใครสักคนจะรู้จักเคารพผู้อื่นได้นั้นเค้าต้องรู้จักที่จะเคารพตัวเองเสียก่อน เหมือนกับคำที่บอกกันว่า "ก่อนจะรักคนอื่น เราต้องรักตัวเองให้เป็นก่อน" สิ่งที่จริง ๆ แล้วเริ่มต้นได้จากครู เราน่าจะต้องลองแสดงให้เห็นว่าเราให้เกียรติ และเคารพในความเป็นเขา เช่น ลองปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ให้เขาได้ลองทำตามใจตัวเองนอกเหนือจากการปฏิบัติตามคำสั่งบ้าง เพราะเมื่อไหร่ที่เราลดทอนสิทธิ์ หรือห้ามปราม หรือสั่งให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งบ่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนเป็นการมองข้ามความต้องการของเขา ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่ได้แสดงความสามารถของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เราควรเริ่มให้เกียรติเด็ก ๆ ว่าเขาต้องการอะไร ในข้อแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับพวกเขา แล้วลองบอกข้อดีในการแสดงออกของเขาให้รู้จักตัวเองด้วย
ปลุกความกล้าแสดงออก ครูเปิดโอกาสมากพอหรือยัง?
ปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้เด็ก ๆ ในห้องเรียนไม่กล้าแสดงออก คือ การไม่ได้รับโอกาสในการให้แสดงออกอย่างแท้จริง และพวกเขาเองก็กลัวความผิดพลาด กลัวถูกเพื่อนล้อเลียน เพราะนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ครูสามารถสอนและให้โอกาสพวกเขาได้ตั้งแต่ตอนนี้ ลองเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ลองแสดงความเห็น แล้วชี้ให้เห็นว่าความเห็นของเขามีคุณค่า พร้อมทั้งใช้นำเสียง ถ้อยคำ กิริยาที่น่าฟัง ไร้ความกดดัน และคอยสอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับมารยาทในการแสดงออก หลีกเลี่ยงคำพูดที่หักหาญน้ำใจ สร้างบรรยากาศของความผิดพลาดให้เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ พร้อมกับให้เกียรติผู้อื่นด้วย
บ่อเกิดของความกล้า บางครั้งอาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องก้าวร้าว
เมื่อเด็ก ๆ ต้องการซักถาม แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่ฉะฉานในห้องเรียน เราก็น่าจะลองมองที่เจตนาในสถานการณ์นั้นก่อนการคาดโทษว่าเขาก้าวร้าว เพราะนี่คือทางออกที่ดีในการหลีกเลี่ยงการลดความเชื่อมั่นในตัวเองของเขา การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญก็จริง แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ครูเองก็ควรมีการแสดงออกถึงความเข้าใจ การให้กำลังใจ และสนับสนุนให้เขากล้าแสดงออก กล้าที่จะถามด้วยน้ำเสียงที่ฉะฉาน แล้วมองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว
ให้เกียรติกันและกันเสมอทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
บางครั้งการกระทำบางอย่างอาจจะดูตลก ขำขัน แต่คุณครูไม่ควรหัวเราะจนทำให้เขารู้สึกอาย เพราะในขณะนั้นเขาอาจจะรู้สึกทุกข์ใจขึ้นมา โดยเฉพาะระมัดระวังเรื่องการอัดคลิปหรือถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดีย การทำให้เห็นถึงความใส่ใจ เข้าใจ แม้กับเรื่องที่ไม่สบายใจเพียงเล็กน้อย นั่นจะทำให้เขารุ้สึกว่าครูเองก็ไม่ได้ทับถมเมื่อเขารู้สึกทุกข์ใจ แต่ยังคอยอยู่เคียงข้างเขาด้วย
ลองเริ่มต้นที่ครู แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการถูกห้เกียรตินั้นดีอย่างไร และรู้สึกอย่างไร เพื่อให้พวกเขาเองเข้าใจและนำไปปรับใช้ นี่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้เขายอมรับในตนเองและเคารพความแตกต่างของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
หลายครั้งที่ครูพบว่าในห้องเรียนของตัวเองมีการรวมกลุ่มกันแกล้งเพื่อน อาจด้วยการพูดจาล้อเลียน หรือการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนของครูอาจขาดการเคารพผู้อื่น แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่ใครสักคนจะรู้จักเคารพผู้อื่นได้นั้นเค้าต้องรู้จักที่จะเคารพตัวเองเสียก่อน เหมือนกับคำที่บอกกันว่า "ก่อนจะรักคนอื่น เราต้องรักตัวเองให้เป็นก่อน" สิ่งที่จริง ๆ แล้วเริ่มต้นได้จากครู เราน่าจะต้องลองแสดงให้เห็นว่าเราให้เกียรติ และเคารพในความเป็นเขา เช่น ลองปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ให้เขาได้ลองทำตามใจตัวเองนอกเหนือจากการปฏิบัติตามคำสั่งบ้าง เพราะเมื่อไหร่ที่เราลดทอนสิทธิ์ หรือห้ามปราม หรือสั่งให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งบ่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนเป็นการมองข้ามความต้องการของเขา ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่ได้แสดงความสามารถของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เราควรเริ่มให้เกียรติเด็ก ๆ ว่าเขาต้องการอะไร ในข้อแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับพวกเขา แล้วลองบอกข้อดีในการแสดงออกของเขาให้รู้จักตัวเองด้วย
ปลุกความกล้าแสดงออก ครูเปิดโอกาสมากพอหรือยัง?
ปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้เด็ก ๆ ในห้องเรียนไม่กล้าแสดงออก คือ การไม่ได้รับโอกาสในการให้แสดงออกอย่างแท้จริง และพวกเขาเองก็กลัวความผิดพลาด กลัวถูกเพื่อนล้อเลียน เพราะนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ครูสามารถสอนและให้โอกาสพวกเขาได้ตั้งแต่ตอนนี้ ลองเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ลองแสดงความเห็น แล้วชี้ให้เห็นว่าความเห็นของเขามีคุณค่า พร้อมทั้งใช้นำเสียง ถ้อยคำ กิริยาที่น่าฟัง ไร้ความกดดัน และคอยสอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับมารยาทในการแสดงออก หลีกเลี่ยงคำพูดที่หักหาญน้ำใจ สร้างบรรยากาศของความผิดพลาดให้เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ พร้อมกับให้เกียรติผู้อื่นด้วย
บ่อเกิดของความกล้า บางครั้งอาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องก้าวร้าว
เมื่อเด็ก ๆ ต้องการซักถาม แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่ฉะฉานในห้องเรียน เราก็น่าจะลองมองที่เจตนาในสถานการณ์นั้นก่อนการคาดโทษว่าเขาก้าวร้าว เพราะนี่คือทางออกที่ดีในการหลีกเลี่ยงการลดความเชื่อมั่นในตัวเองของเขา การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญก็จริง แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ครูเองก็ควรมีการแสดงออกถึงความเข้าใจ การให้กำลังใจ และสนับสนุนให้เขากล้าแสดงออก กล้าที่จะถามด้วยน้ำเสียงที่ฉะฉาน แล้วมองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว
ให้เกียรติกันและกันเสมอทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
บางครั้งการกระทำบางอย่างอาจจะดูตลก ขำขัน แต่คุณครูไม่ควรหัวเราะจนทำให้เขารู้สึกอาย เพราะในขณะนั้นเขาอาจจะรู้สึกทุกข์ใจขึ้นมา โดยเฉพาะระมัดระวังเรื่องการอัดคลิปหรือถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดีย การทำให้เห็นถึงความใส่ใจ เข้าใจ แม้กับเรื่องที่ไม่สบายใจเพียงเล็กน้อย นั่นจะทำให้เขารุ้สึกว่าครูเองก็ไม่ได้ทับถมเมื่อเขารู้สึกทุกข์ใจ แต่ยังคอยอยู่เคียงข้างเขาด้วย
ลองเริ่มต้นที่ครู แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการถูกห้เกียรตินั้นดีอย่างไร และรู้สึกอย่างไร เพื่อให้พวกเขาเองเข้าใจและนำไปปรับใช้ นี่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้เขายอมรับในตนเองและเคารพความแตกต่างของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!