ทริกสอนให้เด็กเก่งแก้ปัญหา
หนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กต้องมี คือ ทักษะการแก้ปัญหา
ความสามารถการแก้ไขปัญหาถือเป็นความฉลาดด้านหนึ่ง ที่เรียกว่า AQ (Adversity Quotient) ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค มีความอดทน
ไม่ท้อแท้ ควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ มีความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการเรียนการสอนในปัจจุบัน มักจะนำทักษะการแก้ปัญหาเข้าไปเชื่อมโยงกับบทเรียนอยู่เสมอ ให้รู้จักคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
งานวิจัยการศึกษาในปี 2010 ตีพิมพ์ใน Behavior Research and Therapy กล่าวไว้ว่า เด็กที่ขาดทักษะการแก้ปัญหามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้า
มีความเครียดสะสม นำไปสู่การเป็นเด็กเก็บกด หากเราฝึกทักษะแก้ไขปัญหาให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก จะช่วยพัฒนาสุขภาพจิต ป้องกันการเกิดภาวะเครียดในเด็กได้
ซึ่งการฝึกฝนตั้งแต่ยังเล็กนั้น เด็กจะได้เผชิญกับการแก้ปัญหาจากเรื่องง่าย ๆ เริ่มจากการจัดการตนเองสู่การจัดการกับปัญหาต่าง ๆ รอบตัวได้ เตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต
มีทักษะการแก้ปัญหา สู่การเป็นนักแก้ปัญหาตัวยง
หลากหลายวิธีที่จะทำให้เด็กมีทักษะแก้ปัญหาที่แข็งแกร่ง สู้ได้ทุกสถานการณ์ไม่หวั่นต่ออุปสรรคที่เข้ามาท้าทาย
1. ให้เด็กเรียนรู้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ควรเริ่มจากตัวของเด็กเองเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง เช่น ใส่เสื้อผ้าเอง ถอดรองเท้าเอง หรือการเข้าห้องน้ำได้เองก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถเริ่มฝึกฝนได้ในกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ทดลองเจอกับปัญหาง่าย ๆ ก่อน ว่าทำได้หรือไม่ อุปสรรคที่พบเจอคืออะไร หากเด็กไม่สามารถทำได้ ผู้ใหญ่จึงค่อยเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำ เด็กจะเรียนรู้ และจดจำนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป
2. สร้าง Mindset ว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเจอ
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใด อายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร หรือบุคคลทั่ว ๆ ไป ก็มักจะเจอปัญหากันได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเจอ สอนให้เด็กได้รู้ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ได้ เพียงแค่เราต้องรับมือ เมื่อเจอปัญหาเราก็ต้องแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้นนั้น ยากหรือง่าย ส่งผลกระทบต่อคนอื่นหรือไม่
3. ฝึกให้คิดบวก ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดี
มองโลกในแง่ดีนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ราบรื่น เพราะการคิดบวกจะทำให้เชื่อว่า ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้คิดบวกจะมีความมั่นใจ และเข้าใจในสถานการณ์ที่เจอได้ดีกว่า มีสมาธิ สติ ควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
4. เปิดโอกาสให้คิดวิเคราะห์ หาเหตุและผลของปัญหา
ฝึกให้คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต เชื่อมโยง คิดหาเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่โดยไม่ยึดติดกับหนทางแก้ไขแบบเดิม ๆ แล้วเด็กจะเรียนรู้ได้ว่าในทุก ๆ ปัญหามีทางออก และสามารถแก้ไขได้ด้วยหลากหลายวิธี ปลายทางของความสำเร็จเด็กจะเกิดความมั่นใจ และเป็นแรงจูงใจให้เด็กอยากจะแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ช่วยสร้างศักยภาพพร้อมเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะอดทน
การอดทน คือสิ่งสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา ให้เด็กได้ลองแก้ไขปัญหาบ่อย ๆ ผ่านระดับความง่ายไปจนถึงความยากตามวัยของเด็ก ในระหว่างการฝึกฝนควรสอนเด็กให้รู้จักการขอความช่วยเหลือในยามที่จำเป็น และสอนให้เด็กได้มุ่งมั่น มีความพยายามให้ไปถึงเป้าหมาย กล้าที่เผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง
กิจกรรมช่วยเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา
▪ การเล่น หรือการเล่านิทาน กระตุ้นพัฒนาการด้านความคิด สติปัญญา มีจินตนาการสร้างสรรค์ หรือการวิเคราะห์เรื่องราวจากนิทานที่ได้ฟัง ซึ่งนิทานสำหรับเด็กมักถูกแฝงไปด้วยเรื่องราวการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ ช่วยสร้างความเข้าใจในตัวละคร รู้เหตุและผล ที่มาที่ไปของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
▪ เกมเติมคำในช่องว่าง การเล่นเกมปริศนาคำทายให้เด็กใบ้คำศัพท์ ที่มีช่องเว้นพยัญชนะ หรือสระบางตัวเพื่อให้เด็กได้เติมคำให้สมบูรณ์ นับว่าเป็นการช่วยฝึกให้เด็กแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีไหวพริบ คิดวิเคราะห์ไว หาคำตอบได้ไว และมีประโยชน์ในการทบทวนคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย
▪ ปูพื้นฐานการเรียน Coding ฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ฝึกฝนการวางแผน และแก้ปัญหาได้อย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการวิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดของปัญหา วางแผนการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา สู่การตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุง
▪ สร้างสถานการณ์ตัวอย่าง จำลองเหตุการณ์ที่หลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การใช้ชีวิตจริงในสังคมปัจจุบัน ตรวจสอบตรรกะการใช้ความคิด การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น ฝึกในการคิดค้นหาทางออกหลายช่องทางที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างน้อยที่สุด
ประสบการณ์มักทำให้เราเกิดทักษะต่าง ๆ
ทุกสถานการณ์ที่เข้ามาส่วนใหญ่ต้องเจอกับการแก้ไขปัญหา ดังนั้นการฝึกฝนจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทักษะ เรียนรู้ และเติบโตด้วยวิถีของตนเอง สร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีศักยภาพในการตัดสินใจสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสามารถการแก้ไขปัญหาถือเป็นความฉลาดด้านหนึ่ง ที่เรียกว่า AQ (Adversity Quotient) ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค มีความอดทน
ไม่ท้อแท้ ควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ มีความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการเรียนการสอนในปัจจุบัน มักจะนำทักษะการแก้ปัญหาเข้าไปเชื่อมโยงกับบทเรียนอยู่เสมอ ให้รู้จักคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
งานวิจัยการศึกษาในปี 2010 ตีพิมพ์ใน Behavior Research and Therapy กล่าวไว้ว่า เด็กที่ขาดทักษะการแก้ปัญหามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้า
มีความเครียดสะสม นำไปสู่การเป็นเด็กเก็บกด หากเราฝึกทักษะแก้ไขปัญหาให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก จะช่วยพัฒนาสุขภาพจิต ป้องกันการเกิดภาวะเครียดในเด็กได้
ซึ่งการฝึกฝนตั้งแต่ยังเล็กนั้น เด็กจะได้เผชิญกับการแก้ปัญหาจากเรื่องง่าย ๆ เริ่มจากการจัดการตนเองสู่การจัดการกับปัญหาต่าง ๆ รอบตัวได้ เตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต
มีทักษะการแก้ปัญหา สู่การเป็นนักแก้ปัญหาตัวยง
หลากหลายวิธีที่จะทำให้เด็กมีทักษะแก้ปัญหาที่แข็งแกร่ง สู้ได้ทุกสถานการณ์ไม่หวั่นต่ออุปสรรคที่เข้ามาท้าทาย
1. ให้เด็กเรียนรู้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ควรเริ่มจากตัวของเด็กเองเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง เช่น ใส่เสื้อผ้าเอง ถอดรองเท้าเอง หรือการเข้าห้องน้ำได้เองก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถเริ่มฝึกฝนได้ในกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ทดลองเจอกับปัญหาง่าย ๆ ก่อน ว่าทำได้หรือไม่ อุปสรรคที่พบเจอคืออะไร หากเด็กไม่สามารถทำได้ ผู้ใหญ่จึงค่อยเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำ เด็กจะเรียนรู้ และจดจำนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป
2. สร้าง Mindset ว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเจอ
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใด อายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร หรือบุคคลทั่ว ๆ ไป ก็มักจะเจอปัญหากันได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเจอ สอนให้เด็กได้รู้ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ได้ เพียงแค่เราต้องรับมือ เมื่อเจอปัญหาเราก็ต้องแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้นนั้น ยากหรือง่าย ส่งผลกระทบต่อคนอื่นหรือไม่
3. ฝึกให้คิดบวก ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดี
มองโลกในแง่ดีนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ราบรื่น เพราะการคิดบวกจะทำให้เชื่อว่า ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้คิดบวกจะมีความมั่นใจ และเข้าใจในสถานการณ์ที่เจอได้ดีกว่า มีสมาธิ สติ ควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
4. เปิดโอกาสให้คิดวิเคราะห์ หาเหตุและผลของปัญหา
ฝึกให้คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต เชื่อมโยง คิดหาเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่โดยไม่ยึดติดกับหนทางแก้ไขแบบเดิม ๆ แล้วเด็กจะเรียนรู้ได้ว่าในทุก ๆ ปัญหามีทางออก และสามารถแก้ไขได้ด้วยหลากหลายวิธี ปลายทางของความสำเร็จเด็กจะเกิดความมั่นใจ และเป็นแรงจูงใจให้เด็กอยากจะแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ช่วยสร้างศักยภาพพร้อมเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะอดทน
การอดทน คือสิ่งสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา ให้เด็กได้ลองแก้ไขปัญหาบ่อย ๆ ผ่านระดับความง่ายไปจนถึงความยากตามวัยของเด็ก ในระหว่างการฝึกฝนควรสอนเด็กให้รู้จักการขอความช่วยเหลือในยามที่จำเป็น และสอนให้เด็กได้มุ่งมั่น มีความพยายามให้ไปถึงเป้าหมาย กล้าที่เผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง
กิจกรรมช่วยเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา
▪ การเล่น หรือการเล่านิทาน กระตุ้นพัฒนาการด้านความคิด สติปัญญา มีจินตนาการสร้างสรรค์ หรือการวิเคราะห์เรื่องราวจากนิทานที่ได้ฟัง ซึ่งนิทานสำหรับเด็กมักถูกแฝงไปด้วยเรื่องราวการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ ช่วยสร้างความเข้าใจในตัวละคร รู้เหตุและผล ที่มาที่ไปของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
▪ เกมเติมคำในช่องว่าง การเล่นเกมปริศนาคำทายให้เด็กใบ้คำศัพท์ ที่มีช่องเว้นพยัญชนะ หรือสระบางตัวเพื่อให้เด็กได้เติมคำให้สมบูรณ์ นับว่าเป็นการช่วยฝึกให้เด็กแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีไหวพริบ คิดวิเคราะห์ไว หาคำตอบได้ไว และมีประโยชน์ในการทบทวนคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย
▪ ปูพื้นฐานการเรียน Coding ฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ฝึกฝนการวางแผน และแก้ปัญหาได้อย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการวิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดของปัญหา วางแผนการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา สู่การตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุง
▪ สร้างสถานการณ์ตัวอย่าง จำลองเหตุการณ์ที่หลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การใช้ชีวิตจริงในสังคมปัจจุบัน ตรวจสอบตรรกะการใช้ความคิด การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น ฝึกในการคิดค้นหาทางออกหลายช่องทางที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างน้อยที่สุด
ประสบการณ์มักทำให้เราเกิดทักษะต่าง ๆ
ทุกสถานการณ์ที่เข้ามาส่วนใหญ่ต้องเจอกับการแก้ไขปัญหา ดังนั้นการฝึกฝนจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทักษะ เรียนรู้ และเติบโตด้วยวิถีของตนเอง สร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีศักยภาพในการตัดสินใจสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครดิตแหล่งข้อมูล :aksorn
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!