เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์


เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์


‘บิ๊กอุ้ม' เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์ สั่งสกร. เติมเต็มความรู้ปชช.

  เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมประสานภารกิจผู้บริหารศธ. ว่า ที่ประชุมรายงานการขับเคลื่อนการยกระดับการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติหรือ PISA โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รายงานการนํานักเรียนเข้าสู่ระบบการทดสอบ COMPUTER BASED TEST เพื่อนําผลสู่การพัฒนา และเติมเต็มนักเรียน (Pre-test) ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 กว่า 104,578 ราย

พร้อม ๆ กับการขยายแกนนำ ที่เป็นครู ศึกษานิเทศก์ พี่เลี้ยง และแกนนำ ระดับเขตพื้นที่ 1,400 คน ที่ผ่านหลักสูตร การอบรมการใช้ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ในสถานศึกษา สู่โรงเรีนนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 9,214 แห่ง ครู 3 โดเมน 27,397 ราย จนถึงเดือนกันยายน 2568

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการจัดอบรมฯ PISA ให้ สสวท. ติดตามและรายงานความก้าวหน้า พร้อมมีแผนระยะยาว การจัดทำข้อสอบเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก ๆ ระดับประถมศึกษา เริ่มจากการอ่าน คิดวิเคราะห์ ส่วนวิธีการทดสอบหรือการออกข้อสอบ ให้เข้ากับเจนเนอเรชันของเด็กในยุค 4.0 และมีความทันสมัย ทั้งในเรื่องของภาษา การเลือกใช้คำที่เข้ากับวัยของเด็ก"

รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวต่อว่า
นอกจากนี้ ยังมีการติดตามการดำเนินการงบประมาณ โดยได้ติดตามเรื่องเงินอุดหนุน อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลจนถึงช่วงเดือนมิถุนายน 2567 และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ตามแผนที่วางไว้ ส่วนงบลงทุน กำลังเร่งทำแอปพลิเคชันโดยมี สพฐ. เป็นเจ้าภาพ เพื่อติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเรียลไทม์ ในส่วนของงบประมาณ ขอให้วิเคราะห์ปัญหา ความเสี่ยง และหาบุคลากรแต่ละพื้นที่ที่มีความชำนาญ ในแต่ละเรื่อง เพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการงบประมาณ

ส่วนกรณีที่ ศธ. มีหนังสือยกเว้น หรือผ่อนผันการแต่เครื่องแบบนักเรียนนั้น ขอเน้นย้ำ โดยเฉพาะในสภาวะที่เศรษฐกิจที่เงินเฟ้อ ผู้ที่ขัดสนอาจไม่สามารถจัดหาเครื่องแบบนักเรียนได้ จึงออกหนังสือดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณา ช่วยเหลือนักเรียนสามารถมาโรงเรียนได้โดยไม่กดดัน โดยขอให้มีการสำรวจข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการ

เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์

โดยอาจต้องประสาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) และภาคเอกชน ในการเข้ามาช่วยเหลือ รวมถึงให้มีการจัดทำระบบคลังข้อมูลเพื่อการบริหารการศึกษา (Data Warehouse) มอบหมายให้ สำนักงานปลัดศธ.พัฒนาพัฒนาระบบรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เรียนดี มีความสุข แบบเรียลไทม์ ทั้งในเรื่องของสุขาดี มีความสุข และการยกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งกายของนักเรียนในสถานศึกษา

สำหรับสำรวจเป็นข้อมูลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายลดภาระครู นักเรียน และผู้ปกครอง เป็นหลัก ขณะเดียวกันยังเน้นย้ำเรื่อง การขับเคลื่อนการป้องกันบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน พร้อมจัดกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก และขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้พิจารณาแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นเจ้าพนักงานดูแลเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา เพื่อให้มีอำนาจในการตรวจยึด และขยายผลในการแก้ปัญหาต่อไป

"ส่วนกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ หรือ Thailand Zero Dropout นั้น ในส่วนของศธ. ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในเชิงรุกได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) สำรวจตัวเลขเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา และพยายามนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือเข้าเรียนในระบบการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีเป้าหมายให้เด็กดร็อปเอาท์เป็นศูนย์ และไม่ใช่แค่เด็กในวัยเรียนเท่านั้น ยังรวมถึงประชาชนทั่วไป ที่ยังได้รับการศึกษาไม่ถึงภาคบังคับ ก็ขอให้สกร. เข้าไปช่วยเติมเต็ม ให้ความรู้ เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทยมีความรู้ไม่น้อยกว่าการศึกษาภาคบังคับ" พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าว



เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์


เร่งดึงเด็กเข้าระบบการศึกษา ตั้งเป้าดร็อปเอาท์เป็นศูนย์

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์