ปัจจัยความเหลื่อมล้ำ อนาคตการศึกษาเด็กไทยปี 67


ปัจจัยความเหลื่อมล้ำ อนาคตการศึกษาเด็กไทยปี 67

ปี 2567 เด็กไทยมีแนวโน้มหลุดออกจากระบบการศึกษาสูงถึง 1.8 ล้านคน ปัญหาสำคัญคือความเหลื่อมล้ำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

รายงานประจำปี 2566 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) รายงานว่า ในปี 2567 มีเด็กและเยาวชนที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาสมีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนสูงถึง 1.8 ล้านคน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 8.9 ล้านคน

ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเชิงสังคมที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับระบบการศึกษาและหลักสููตรที่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ที่สามารถตอบโจทย์ผู้เรียน พร้้อมทั้งการเสริมทักษะการเรียนรู้และการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแนะแนวให้เด็กและเยาวชนค้นหาความสามารถและความสนใจของตัวเอง

อีกประเด็นสำคัญในมิติโครงสร้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาอย่างหลีกเลียงไม่ได้ คือ การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ (demographic transition) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สููงอายุ ส่งผลให้ตัวเลขประชากรเด็กและเยาวชนในโรงเรียนลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 120 คน ทำให้แนวโน้มโรงเรียนบางโรงมีจำนวนนักเรียนลดลงจนเหลือแค่เพียง 40-60 คน ในขณะที่การจัดสรรงบประมาณและจำนวนครูที่ไปบรรจุุนั้น ยังคงอ้างอิงตามจำนวนนักเรียนรายบุคคลเป็นหลัก ส่งผลกระทบให้โรงเรียนขนาดเล็กมีงบประมาณไม่เพียงพอ อัตราการบรรจุครูในโรงเรียนลดลง ซึ่งจะยิ่งเพิ่มช่องว่างความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพการศึกษาระหว่างกลุ่มโรงเรียนอีกด้วย

นอกจากนี้ ความเปราะบางของครอบครัวมีแนวโน้มรุุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มยากจน พบว่า ครอบครัวที่มีพ่อเลี้ยงเดี่ยวหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว และครอบครัวที่อาศัยอยู่กับปู่ยาหรือตายาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและอาจส่งผลให้การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะด้านทักษะทางอารมณ์ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญภายในครอบครัว มีปัญหามากยิ่งขึ้้น

ดังนั้น หากรัฐต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวของประชากรกลุ่มเปราะบาง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและคงอยู่ในระบบการศึกษาหรือโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนให้ตรงจุด โดยเน้นความสำคัญกับกลุ่มเด็กและเยาวชนในครอบครัวยากจนพิเศษที่มีความเปราะบางจากปัจจัยอื่นควบคู่ด้วย


จากข้อมูลภาครัฐ พบว่า ยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 3-18 ปี ที่ควรเรียนหนังสือในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือตั้งแต่อนุุบาล 1 ถึงมััธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 แต่กลับปรากฏว่ารายชื่อเหล่านั้นหล่นหายไปจากระบบมากถึง 1.02 ล้านคนข้อมููลดังกล่าวจะเป็นข้อมููลสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเห็นขนาดของปัญหาในแต่ละช่วงวัย ทำให้เครือข่ายภาคีทุุกภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานในพื้นที่มีข้อมููลและเครื่องมือในการติดตามช่วยเหลือ สามารถทำงานเชิงรุุกในการดูแลเด็ก ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ที่ไม่ใช่เพียงแค่พากลับเข้าสู่ระบบ แต่ทุุกฝ่ายจะต้องช่วยกันเสริมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคน พบเส้นทางที่เหมาะสม ให้ได้รับการศึกษาเรียนรู้เต็มศักยภาพ เพื่อให้ประชากรของประเทศไทยมีคุุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองสร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ทั้งของตนเองและสังคมต่อไป



ปัจจัยความเหลื่อมล้ำ อนาคตการศึกษาเด็กไทยปี 67

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี อัมรินทร์TV


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์